ดร.สิทธิพร เอี่ยมเสน คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วย ดร.กิ่งกาญจน์ ทองงอก รองผู้อำนวยการสำนักบริหารกลยุทธ์ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมการประชุมคณบดีคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ และผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตทุกแห่งผ่านระบบออนไลน์ จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำนโยบายจากกระทรวงสู่การปฏิบัติ ในส่วนของคณะครุศาสตร์ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ และโครงการละออพลัส มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  นางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาในกำกับ  ผู้แทนจากโรงเรียนสาธิตในกำกับ และผู้แทนจากผู้ประกอบการด้านการศึกษา อาทิ Saturday School Foundation, BASE Playhouse, a-chieve social enterprise co.,ltd. และอื่น ๆ ร่วมประชุมหารือความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น “กระบวนทัศน์การศึกษาไทยในโลกหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด-19” ผ่านระบบ VDO Conference – ZOOM Cloud Meetings ตามมาตรการ Social distancing ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา) โดยมีประเด็นของการหารือ เพื่อดำเนินงานและผลักดันให้สู่ผลสำเร็จที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสาร โลกเปลี่ยน คนปรับ
  2. การเสนอแนวทางแผนการปฏิบัติ (Action Plan) เพื่อปฏิรูปกระบวนทัศน์การศึกษาไทย
  3. การเตรียมคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิด จะเป็นอย่างไร
  4. แนวทางปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
  5. อะไรคืออุปสรรคสำคัญที่ต้องปลดล็อก
  6. อะไรคือนวัตกรรมทางการศึกษาและการเรียนรู้ที่น่าจะผลักดัน

ดร.สุวิทย์ กล่าวสรุปสำหรับการประชุมหารือกระบวนทัศน์การศึกษาไทยในโลกหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด-19ในครั้งนี้ว่า สำหรับการรับฟังความคิดจากหลายภาคส่วนในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การผนึกกำลังในการปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างเป็นรูปธรรม และมีเป้าหมายของการดำเนินที่ชัดเจน โดยเฉพาะการศึกษาไทยหลังสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 จะเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร ณ ปัจจุบันการวิจัยของโรงเรียนสาธิตต่าง ๆ ถูกแยกส่วน ไม่มีการบูรณาร่วมกันอย่างหลากหลาย โรงเรียนสาธิต จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของการวิจัยเสียใหม่ คัดสรรงานวิจัยที่เป็นเรื่องสำคัญ ที่สามารถต่อยอดให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม พยายามออกจากการคิด การวิจัยในรูปแบบเดิม ต่อยอดนวัตกรรม จนเกิดเป็น Platform ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทที่แตกต่างกันได้ ซึ่งโรงเรียนสาธิตถือเป็นต้นน้ำของการศึกษาไทย

กระทรวง อว. มีหน้าที่ในการสนับสนุนและผลักดัน ตั้งแต่เรื่องของ SandBox และทำให้การศึกษาเกิด Out Come เป็นหลักไม่ใช่อยู่แต่ในกรอบเดิม ๆ Agenda Based ของระบบการศึกษาไม่ใช่แค่หลักสูตรของการเรียน Online หรือ Offline การศึกษาไม่จำเป็นจะต้องแยกส่วนออกจากสังคม แต่ให้ดึงอัตลักษณ์ และความแข็งแกร่งของแต่ละที่มาบูรณาร่วมกัน แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ การเตรียมคนที่สมบูรณ์สู่ศตวรรษที่ 21 และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในภายภาคหน้าของโลกด้วย ส่วนปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่วันนี้ได้หารือกัน อว. จะพยายามขับเคลื่อนและหาแนวทางการปลดล็อกให้ได้ อาทิ กฎหมาย วัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรและการทำงาน เป็นต้น นอกเหนือจากการพัฒนานักเรียน นักศึกษา หรือหลักสูตรด้านต่าง ๆ แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นความสำคัญของการศึกษาก็คือ ครู อาจารย์ ผู้สอน ที่จะต้องมีการพัฒนาตนให้เท่าทันกับโลก จำเป็นจะต้อง Re skill – Up skill หรือเปลี่ยน Mine set แบบเดิม

“มองปัญหาให้เป็น Challenge ให้เด็กเป็นพลังที่จะเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง เราจะมา Reset ประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน”

ขอขอบคุณข้อมูล ภาพ/ข่าว จากส่วนสื่อสารองค์กรกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม